กล่องแต่งมีหลายประเภท หลายยี่ห้อ ใช้เพื่อเพิ่มกำลัง และสมรรถนะของเครื่องยนต์ โดยอาศัยการแปลงสัญญาณหรือโปรแกรมทางอิเลคทรอนิคให้มีค่าต่างจากโปรแกรมเดิมของโรงงาน ซึ่งมีผลต่อการทำงานของอุปกรณ์ของเครื่องยนต์
ในเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรลที่นิยมกัน ได้แก่
กล่องดันราง : การเพิ่มแรงดันในระบบคอมมอนเรล โดยการแปลงสัญญาณ ECU ที่ควบคุมในส่วนของปั๊มเชื้อเพลิง ให้ปั๊มสร้างแรงดันในระบบสูงขึ้นกว่าเดิม
กล่องยกหัวฉีด : การแปลงสัญญาณขยายระยะเวลาในการยกตัวของเข็มหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง ทำให้ฉีดได้ในปริมาณที่มากขึ้น
การปลดบูสท์ : การปลดล็อกสัญญาณการตรวจจับแรงดันอากาศในท่อร่วมไอดี ให้สามารถทำแรงดันได้เกินค่าที่กำหนดโดยที่เครื่องไม่ถูกสั่งตัดเชื้อเพลิง
การปลดล็อคความเร็ว : การปลดล็อคสัญญาณลิมิตของความเร็วรถให้วิ่งได้เกินค่าที่โรงงานล็อคไว้
การปลดล็อคคันเร่งไฟฟ้า : การแปลงสัญญาณของตัวคันเร่งไฟฟ้า ให้ตอบสนองได้เร็วขึ้น
การสร้างกล่องควบคุมเครื่องยนต์ขึ้นมาใหม่ : การใช้กล่องแต่งแบบสามารถควบคุมได้ทุกส่วนของเครื่องยนต์มาแทนกล่องโรงงาน ส่วนมากนิยมใช้ในการแข่งขัน
กระบะแดร็กดีเซล
วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2557
ความรู้เรื่องกล่องดันราง
การดันราง คือ การเพิ่มแรงดันในระบบฉีดจ่ายน้ำมันแบบคอมมอนเรล หรือภาษาไทยๆเราเรียกว่า "แบบรางฉีดร่วม" ซึ่งโดยปกติ ปั๊มคอมมอนเรลจะมีหน้าที่ปั่นและอัดส่งสร้างน้ำมันที่มีแรงดันสูงมากๆไปยังรางคอมมอนเรลเพื่อรอจ่ายน้ำมันไปยังหัวฉีดซึ่งเมื่อทำการติดตั้งกล่องดันรางเข้าไป กล่องตัวนี้จะทำหน้าที่ส่งสัญญาณให้ปั๊มสร้างแรงอัดน้ำมันได้สูงขึ้น แรงดันในระบบจึงสูงขึ้น ฉีดน้ำมันได้แรงกว่าเดิม การเผาไหม้จึงดีขึ้น ส่งผลให้รถแรงขึ้น แต่ไม่ได้ทำให้จ่ายน้ำมันมากขึ้น เพราะหัวฉีดก็ยังคงฉีดจ่ายน้ำมันเป็นปริมาณเท่าเดิม ใน 1 จังหวะรอบการทำงาน
แต่เมื่อรถมีกำลังมากขึ้น ทั้งแรงม้าและแรงบิดจากการดันรางนี้ เมื่อเราขับขี่ในสไตล์เดิม ที่ความเร็วเท่าๆเดิม จะได้ความประหยัดมากกว่าเพราะแรงบิดรถดีขึ้น อัตราเร่งทำได้ดีกว่าเดิม จึงไม่ต้องเค้นคันเร่งให้มากยังไงล่ะครับ
โดยทั่วไปแล้ว เมื่อเราติดตั้งกล่องดันราง
ผู้ติดตั้งก็นิยมมีการทำท้ายรางเพิ่มเติมด้วยเพื่อให้แมตซ์กับแรงดันที่ปรับจูน
ป้องกันปัญหาไฟโชว์ เครื่องสะดุดเมื่อรอบสูงๆ ท้ายรางก็คือ
อุปกรณ์ตัวนึงที่เป็นตัวลิมิตแรงดันในระบบอยู่ตรงด้านท้ายของรางคอมมอนเรล
มีหลักการทำงานคือสปริงพร้อมลิ้นระบายแรงดัน (Pressure Regulator) ทำหน้าที่คอยระบายแรงดันในรางคอมมอนเรลที่เกินค่าที่กำหนดให้ไหลกลับ
ซึ่งทำได้โดยการใส่ชิมรองเข้าไปที่สปริง ทำให้สปริงมีค่าแข็งขึ้น
แรงดันระบายออกได้ช้าลง ทำให้การสร้างแรงดันในรอบสูงๆ ไม่มีปัญหาเครื่องสะดุด
ส่วนเรื่องรางแตกนั้น โดยทั่วๆไปแล้ว จะเกิดขึ้นได้ยากมากครับ เพราะรางคอมมอนเรลมีค่า Factor เผื่อมาให้รับแรงดันได้สูงกว่าสเปคโรงงานเยอะมาก เว้นแต่จะมีการ "อุด" ท้ายรางแบบถาวร ซึ่งนิยมทำกันในรถแข่งสนาม โดยเฉพาะประเภท Drag เขาจะใช้กล่องโมดิฟายใบเดียวคุมแทนกล่องเดิมของเครื่องยนต์ครับ หรือที่เรียกว่า "Stand Alone" สำหรับรถบ้าน สบายใจได้เลยครับ จะมีก็แต่กรณีท้ายรางรั่วซึ่งเกิดจากผู้ติดตั้งในบางรายติดตั้งไม่ดีเท่านั้นเอง ซึ่งสามารถแก้ไขได้ไม่ยากครับ
ตัวอย่างกล่องดันราง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)